บทความ

สรุป ค่าทำงาน ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ตามกฎหมายแรงงาน

ค่าทำงาน ค่าล่วงเวลาในวันหยุด

ค่าทำงาน ค่าล่วงเวลาในวันหยุด

การทำงานในวันหยุด เป็นเรื่องที่มีความสำคัญและต้องทำตามกฎหมายแรงงานของแต่ละประเทศเพื่อปกป้องสิทธิและความเป็นธรรมของแรงงานทุกคน

ในประเทศไทย มีกฎหมายแรงงานที่กำหนดให้แรงงานมีสิทธิที่ชัดเจนในเรื่องของค่าทำงานและค่าล่วงเวลาในวันหยุดอย่างชัดเจน ดังนั้นเราจึงต้องเข้าใจและปฏิบัติตามกฎหมายนี้อย่างถูกต้อง

ค่าจ้าง 

1. เป็นเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตาม สัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ หรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุด และวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่มีสิทธิ์ได้รับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน 

2. ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 

3. ถ้า ไม่มีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในท้องที่ใดให้ถือว่า อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ พื้นฐานเป็นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของท้องที่นั้น (อัตรค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน หมายถึง อัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนดเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการกำหนดอัตรา ค่าจ้างขั้นต่ำ) 

การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุด 

1. ใน กรณีที่งานมีลักษณะต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะ เสียหายแก่งานหรือเป็นงานฉุกเฉิน นายจ้างอาจให้ลูกจ้าง ทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุดเท่าที่จำเป็นก็ได้ 

2. กิจการโรงแรม สถานมหรสพ งานขนส่ง ร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม สโมสร สมาคม สถานพยาบาล และกิจการอื่นตามที่กระทรวงจะได้กำหนดนายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานใน วันหยุดเท่าที่จำเป็นก็ได้ โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราวๆ ไป 

3. ใน กรณีที่มีการทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาทำงานปกติไม่น้อยกว่า สองชั่วโมง นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพัก ไม่น้อยกว่ายี่สิบนาที ก่อนที่ลูกจ้างเริ่ม ทำงานล่วงเวลา (ยกเว้นงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือเป็นงานฉุกเฉิน) 

ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด 

1. ถ้าทำงานเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลา ไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวน ชั่วโมงที่ทำหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วย ในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงาน 

2. ถ้าทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงานนายจ้างต้องจ่าย ค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำหรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับ ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย 

3. ถ้าทำงานในวันหยุดในเวลาทำงานปกติ นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุด ให้แก่ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าของค่าจ้าง ในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุด หรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้ สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย สำหรับลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของค่าจ้างในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุดหรือตามจำนวนผลงาน ที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

ค่าทำงาน ค่าล่วงเวลาในวันหยุด

ค่าทำงาน ค่าล่วงเวลาในวันหยุด

ค่าทำงาน ค่าล่วงเวลาในวันหยุด

ค่าทำงาน ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ตามกฎหมายแรงงาน

1. ค่าทำงานในวันหยุด

  • กรณีลูกจ้าง มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด อยู่แล้ว นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้ เพิ่มอีก 1 เท่า ของค่าจ้างในวันทำงาน
  • กรณีลูกจ้าง ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้ ไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของค่าจ้างในวันทำงาน

2. ค่าล่วงเวลาในวันหยุด

  • นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตรา ไม่น้อยกว่า 3 เท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน

ตัวอย่าง

  • พนักงานรายเดือน ค่าจ้าง 10,000 บาท ทำงานในวันหยุด 3 ชั่วโมง
  • ค่าจ้างต่อชั่วโมง = 10,000 / 30 / 8 = 41.67 บาท
  • ค่าทำงานในวันหยุด = 41.67 x 1 = 41.67 บาท
  • ค่าล่วงเวลาในวันหยุด = 41.67 x 3 = 125 บาท
  • เงินที่ต้องได้รับ = 41.67 + 125 = 166.67 บาท

สรุป

การปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานในเรื่องของค่าทำงานและค่าล่วงเวลาในวันหยุดเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยปกป้องสิทธิและความเป็นธรรมของแรงงาน และในขณะเดียวกันยังช่วยสร้างสภาพแวดล้อมทำงานที่เหมาะสมและมีความยุติธรรม สนใจอบรมกฎหมายแรงงาน คลิกที่นี่


Topprofessional And Development

สถาบันฝึกอบรมและที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์กร บริการให้คำปรึกษาด้านระบบ ISO แบบครบวงจรด้วยหลักสูตรคุณภาพอาจารย์ผู้สอนมากด้วยประสบการณ์

วันทำการ ( จันทร์ - เสาร์ เวลา 8:00 - 17:00 น. )

ติดตามเรา

icon-facebookicon-lineicon-youtubeicon-tiktok
Copyright 2023 © HERMES Digital Marketing . All Rights Reserved