บทความ

ประเด็นสำคัญ กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ตามกฎหมายใหม่ บังคับใช้ 1 ตุลาคม 2568

ประเด็นสำคัญ กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ตามกฎหมายใหม่ บังคับใช้ 1 ตุลาคม 2568

ประเด็นสำคัญ กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ตามกฎหมายใหม่ บังคับใช้ 1 ตุลาคม 2568

กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามกฎหมายใหม่ จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2568 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์ของลูกจ้าง มุ่งเน้นให้ลูกจ้างได้รับการดูแลและมีหลักประกันมากขึ้นเมื่อออกจากงาน

สาระสำคัญของกฎหมายนี้ คือ กำหนดให้นายจ้างและลูกจ้างต้องจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน โดยมีอัตราการจัดเก็บเงินสะสมและเงินสมทบในช่วงแรกตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2568 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2573 ในอัตราร้อยละ 0.25 ของค่าจ้าง และตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2573 เป็นต้นไป จะมีการปรับอัตราเป็นร้อยละ 0.5 ของค่าจ้าง

สำหรับสถานประกอบการที่จะต้องเข้าสู่กระบวนการจัดเก็บเงินสะสม และเงินสมทบเพื่อเป็นทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามกฎกระทรวงนั้น จะต้องเป็นสถานประกอบกิจการเอกชนที่มีลูกจ้างภายในสถานประกอบกิจการตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ที่นายจ้างไม่ได้จัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือไม่ได้จัดให้มีกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามที่กฎหมายกำหนด 1  

ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน กระทรวงแรงงาน สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.mol.go.th/ หรือโทร 1506

ทำไมต้องมีกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง?

กฎหมายนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นหลักประกันให้ลูกจ้างได้รับการดูแลมากขึ้นเมื่อออกจากงาน ไม่ว่าจะเป็นการลาออกเอง หรือถูกเลิกจ้าง หรือแม้แต่เสียชีวิต กองทุนนี้จะช่วยแบ่งเบาภาระและสร้างความมั่นคงให้กับลูกจ้างและครอบครัว

สาระสำคัญพระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวง

สาระคัญพระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวง

สาระคัญพระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวง

  • เป็นพระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
  • เริ่มจัดเก็บเงินตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป
  • อัตราเงินสะสมและเงินสมทบในช่วงแรก (1 ต.ค. 68 - 30 ก.ย. 73) คือ 0.25% ของค่าจ้าง และจะเพิ่มเป็น 0.50% ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 73 เป็นต้นไป

ข้อยกเว้นที่ไม่อยู่ในบังคับให้ลูกจ้าง ต้องเข้าเป็นสมาชิกกองทุน

ข้อยกเว้นที่ไม่ต้องเข้าเป็นสมาชิก

ข้อยกเว้นที่ไม่ต้องเข้าเป็นสมาชิก

  • นายจ้างที่มีลูกจ้างต่ำกว่า 10 คน
  • นายจ้างที่จัดให้มีการสงเคราะห์แก่ลูกจ้างตามกฎกระทรวง
  • นายจ้างที่จัดให้ลูกจ้างเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • กิจการบางประเภทที่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย เช่น งานบ้าน, โรงเรียนเอกชน (เฉพาะบุคลากรทางการศึกษา)

หน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง

หน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง

หน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง


นายจ้าง

  • ยื่นแบบรายการแสดงรายชื่อลูกจ้าง และรายละเอียดอื่น ๆ (สกล.3 / สกล.3/1
  • แจ้งแบบเปลี่ยนแปลงรายการแสดงรายชื่อลูกจ้าง และรายละเอียดอื่น ๆ (สกล.3/2) นายจ้างยื่นแบบรายการตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมแล้ว ให้ถือว่านายจ้างได้ยื่นแล้ว
  • หักค่าจ้างของลูกจ้าง 0.25 %เพื่อนำส่งเป็นเงินสะสม
  • จ่ายเงินสมทบ 0.25 % ของค่ล้างของลูกจ้าง

ลูกจ้าง

  • ต้องเข้าเป็นสมาชิกกองทุน
  • จ่ายเงินสะสม 0.25% ของค่าจ้าง
  • นายจ้างเป็นผู้หักค่าจ้างและนำส่งกองทุน

การจ่ายเงินสงเคราะลูกจ้าง

การจ่ายเงินสงเคราะลูกจ้าง

การจ่ายเงินสงเคราะลูกจ้าง

กรณีลูกจ้างออกจากงาน

  • นายจ้างเลิกจ้าง (ไม่ว่าลูกจ้างจะกระทำความผิดวินัยหรือไม่)
  • เกษียณอายุ
  • ลาออก
  • ตกลงเลิกสัญญาจ้าง
  • สิ้นสุดสัญญาจ้าง

กรณีลูกจ้างตาย

  • ตกแก่บุคคลซึ่งลูกจ้างระบุในแบบหนังสือกำหนดบุคคลผู้จะพึงได้รับเงินฯ (สกล.5)
  • ไม่ได้กำหนดไว้ หรือบุคคลที่กำหนดตายก่อนจะตกแก่บุตร สามี ภรรยา คู่สมรส บิดา มารดาที่มีชีวิตอยู่คนละส่วนเท่า ๆ กัน
  • หากไม่มีบุคคลดังกล่าวจะตกแก่กองทุน

จำนวนสถานประกอบการและลูกจ้าง

จำนวนสถานประกอบการและลูกจ้าง

จำนวนสถานประกอบการและลูกจ้าง

  • ข้อมูล ณ วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2567 พบว่ามีสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 10 คนขึ้นไป 139,563 แห่ง มีลูกจ้าง 9,037,544 คน
  • คาดว่าจะมีสถานประกอบการ 116,130 แห่ง และลูกจ้าง 6,094,945 คน ที่จะเข้าสู่ระบบกองทุนนี้

ประโยชน์ของกองทุน

ประโยชน์ของกองทุน

ประโยชน์ของกองทุน

  • ต่อลูกจ้างช่วยยกระดับมาตรฐานคุ้มครอง, ส่งเสริมการออม, สร้างขวัญกำลังใจ, บรรเทาความเดือดร้อน
  • ต่อนายจ้าง สร้างภาพลักษณ์ที่ดี, สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร, จูงใจลูกจ้างให้อยู่กับบริษัทนานขึ้น

สรุป

กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเป็นกฎหมายใหม่ที่สำคัญสำหรับคนทำงานทุกคน การทำความเข้าใจและเตรียมตัวให้พร้อม จะช่วยให้คุณได้รับประโยชน์จากกองทุนนี้อย่างเต็มที่ อย่าลืมติดตามข่าวสารและข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายนี้อย่างสม่ำเสมอนะครับ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านนะครับ หากมีคำถามเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้เลยครับ หรือโทร 1506

Topprofessional And Development

สถาบันฝึกอบรมและที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์กร บริการให้คำปรึกษาด้านระบบ ISO แบบครบวงจรด้วยหลักสูตรคุณภาพอาจารย์ผู้สอนมากด้วยประสบการณ์

วันทำการ ( จันทร์ - เสาร์ เวลา 8:00 - 17:00 น. )

ติดตามเรา

icon-facebookicon-lineicon-youtubeicon-tiktok
Copyright 2023 © HERMES Digital Marketing . All Rights Reserved